สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

ลืมรหัสผ่าน

ลืมรหัสผ่าน


หมายเหตุ : เราจะส่งวิธีการรีเซ็ตรหัสผ่าน ไปยัง E-mail ที่คุณได้สมัครด้วย username นี้ไว้

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ความรู้มะเร็งเต้านมสำหรับประชาชน
    • บทความทั่วไป
      • บทความทั่วไป
        • ดีกว่าการรักษาคือการป้องกัน: สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยกับการผลักดันนโยบายตรวจหายีนส์มะเร็งเต้านมฟรี
        • พยาบาลวิชาชีพผู้ที่มุ่งพัฒนางานการพยาบาลดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้ผู้ป่วยเบื้องต้น
        • กล่องปทุมรักษา: เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยชนิดของโรคมะเร็ง โดยคุณหมอคนไทยเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง
        • ความเป็นมาและเป็นไปของสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย
        • สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยเริ่มต้น
          และขับเคลื่อนด้วยการเป็นผู้ให้
        • ภาพแรกในวันนั้น ภาพร่างในวันนี้ และภาพสุดท้ายในอีกสิบปี
        • จาก “เป็นเท่ากับตาย”
          สู่ “ฟื้นฟูชีวิตใหม่”
        • ไอรีล ไตรสารศรี: Art for Cancer ศิลปะเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง
      • สารประกอบในถั่วเหลืองอาจช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม
      • การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
      • การดื่มแอลกอฮอล์และความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
    • อาการและการวินิจฉัยเบื้องต้น
      • รู้จักโรคมะเร็งเต้านม
        • มะเร็งเต้านมคืออะไร
        • ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
        • อาการของมะเร็งเต้านม
        • การจัดการความกลัวที่มีต่อโรคมะเร็งเต้านม
      • การตรวจคัดกรองและการตรวจเพิ่มเติม
        • การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
        • การตรวจเต้านมโดยแพทย์
        • Mammogram
        • อัลตร้าซาวด์
        • การทดสอบ FISH (Fluorescence In Situ Hybridization)
        • การตรวจเต้านมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
        • การตรวจชิ้นเนื้อ
        • การย้อมชิ้นเนื้อพิเศษ
        • การตรวจ Oncotype Dx
        • การตรวจทางพันธุกรรม
      • มะเร็งเต้านมของคุณเป็นแบบไหน
      • ชนิดของมะเร็งเต้านม
    • การรักษาและผลข้างเคียง
      • การวางแผนการรักษา
      • การผ่าตัด
        • การผ่าตัด ตอนที่ 1: การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม
        • การผ่าตัด ตอนที่ 2: การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด
        • การผ่าตัด ตอนที่ 3: การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม (Breast Reconstruction)
        • การผ่าตัด ตอนที่ 4: การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
        • การผ่าตัด ตอนที่ 5: การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมดเพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม (Prophylaxis Mastectomy)
      • ยาเคมีบำบัด
      • การรักษาด้วยฮอร์โมน
      • การรักษาแบบมุ่งเป้า
        • การรักษาด้วยยาต้านเฮอร์ทู
      • การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
      • การรักษามะเร็งเต้านมชนิดตัวรับเฮอร์ทู
        • การรักษามะเร็งเต้านมชนิดตัวรับเฮอร์ทู ในระยะเริ่มต้น
        • การรักษามะเร็งเต้านมชนิดตัวรับเฮอร์ทู
      • รังสีรักษา
      • การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
        • ยายับยั้งจุดตรวจสอบภูมิคุ้มกัน (Immune Checkpoint Inhibitors)
        • ยาต้านฮอร์โมน (Hormonal Therapy)
        • วัคซีนสำหรับโรคมะเร็ง (Cancer Vaccines)
        • การรักษาโดยการปรับแต่งเซลล์ภูมิคุ้มกัน (Adoptive Cell Therapy)
        • โปรตีนสื่อสารระหว่างเซลล์ (Cytokines)
  • ข่าวสารสมาคม
  • ติดต่อเรา

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม

หน้าแรก   : :   อาการและการวินิจฉัยเบื้องต้น   : :   รู้จักโรคมะเร็งเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

ความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมนั้น โดยมากไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อายุ ประวัติทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตามการคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงลงได้

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

น้ำหนักตัว น้ำหนักที่มากเกินไปสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากไขมันในร่างกายจะทำหน้าที่หลักในการสร้างเอสโตรเจนแทนรังไข่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น อาหารก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ โดยนักโภชนาการแนะนำไว้ว่า ให้รักษาน้ำหนักร่างกายให้มีสุขภาพดีเสมอโดยทานผักผลไม้มากกว่าห้าถ้วยต่อวัน จำกัดปริมาณไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดต่อวัน และรับประทานไขมันทั้งหมดไม่เกิน 30 กรัมต่อวัน รับประทานอาหารที่มีไขมัน Omega 3 และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เนื้อสัตว์แปรรูป หรืออาหารรมควัน
การออกกำลังกาย มีการศึกษาว่าการออกกำลังกายตั้งแต่ 45-60 นาที ตั้งแต่ 5 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์สามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งเต้านมได้
การดื่มแอลกอฮอล์ สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้ความสามารถของตับทำงานได้ลดลง สูญเสียการควบคุมปริมาณเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งได้
การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการเกิดมะเร็งเต้านม
ฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากเอสโตรเจนทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เต้านมให้มีการเจริญเติบโต การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งบางปัจจัยสามารถที่จะควบคุมได้ เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน การควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ หรือการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
ยาคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงเวลาที่จำกัดมีความเสี่ยงในการเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย และพบว่าหากหยุดยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ความเสี่ยงนั้นไม่แตกต่างจากคนปกติ
ความเครียดและความวิตกกังวล ไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม แต่การลดความเครียดและทำจิตใจให้สงบสามารถเพิ่มความสามารถของภูมิต้านทานในร่างกายได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

เพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าเพศชาย เนื่องจากเต้านมของเพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโตตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนอเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน
อายุ อายุที่มากขึ้นย่อมมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม หากคุณอายุระหว่าง 30-39 ปี มีโอกาส 1 ใน 228 หรือ 0.44 % ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม และความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 1 ใน 29 หรือ 3.5% เมื่อคุณอายุ 60 ปี
พันธุกรรมในครอบครัว หากพบว่ามีญาติสายตรง (เช่น บิดา มารดา พี่ น้อง ลูกสาว) ที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี คุณจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม
การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการเกิดมะเร็งเต้านม
ฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากเอสโตรเจนทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เต้านมให้มีการเจริญเติบโต การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งบางปัจจัยสามารถที่จะควบคุมได้ เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน การควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ หรือการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
ยาคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงเวลาที่จำกัดมีความเสี่ยงในการเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย และพบว่าหากหยุดยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ความเสี่ยงนั้นไม่แตกต่างจากคนปกติ
ความเครียดและความวิตกกังวล ไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม แต่การลดความเครียดและทำจิตใจให้สงบสามารถเพิ่มความสามารถของภูมิต้านทานในร่างกายได้

ความรู้มะเร็งเต้านม อื่นๆ

  • มะเร็งเต้านมคืออะไร
  • อาการของมะเร็งเต้านม
  • การจัดการความกลัวที่มีต่อโรคมะเร็งเต้านม
สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย

อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 11 เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • 08-5243-3500
  • 0-2716-5957
  • thaibreast@thaibreast.org
สำหรับบุคคลทั่วไป
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ความรู้มะเร็งเต้านมสำหรับประชาชน
  • ข่าวสารสมาคม
  • ติดต่อเรา

สำหรับแพทย์และพยาบาล

กรุณาสมัครสมาชิก
เพื่อใช้งานได้ครบทุกส่วน

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2564 สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย. นโยบายความเป็นส่วนตัว