![]() |
นพ.มนต์ชัย ลีสมบัติไพบูลย์ |
1. ยีน BRCA คืออะไร? |
2. ยีน BRCA เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งอย่างไร? |
![]() |
3. มียีนอื่นๆที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่อีกไหม? 4. เราสามารถตรวจได้ไหมว่ายีน BRCA ผิดปกติหรือไม่? |
5. ใครบ้างที่อาจจะมีความเสี่ยงของการที่จะมียีน BRCA ผิดปกติ? มีญาติใกล้ชิด (แม่, ลูกสาว, พี่สาวหรือน้องสาว) อย่างน้อย 2 คน เป็นมะเร็งเต้านม และมีหนึ่งคนเป็นมะเร็งก่อนอายุ 50 ปี มีญาติใกล้ชิดหรือญาติลำดับที่สอง (ย่าหรือยาย, น้าหรืออาหรือป้า) อย่างน้อย 3 คน เป็นมะเร็งเต้านม มีญาติใกล้ชิดหรือญาติลำดับที่สอง คนหนึ่งเป็นมะเร็งเต้านม อีกคนเป็นมะเร็งรังไข่ มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านมสองข้าง มีญาติใกล้ชิดหรือญาติลำดับที่สอง อย่างน้อย 2 คน เป็นมะเร็งรังไข่ มีญาติใกล้ชิดหรือญาติลำดับที่สองที่เป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในคนๆเดียว มีญาติผู้ชายเป็นมะเร็งเต้านม |
การสอดส่องดูแล หมายถึงการตรวจคัดโรคมะเร็ง หรือหาทางตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่นๆ วิธีนี้ไม่ได้ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง หากแต่พยายามตรวจหามะเร็งให้เจอตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งยังสามารถรักษาให้หายได้ วิธีการสอดส่องดูแลสำหรับมะเร็งเต้านม ได้แก่ การทำแมมโมแกรมและการตรวจเต้านมโดยแพทย์ ส่วนวิธีการอื่นๆ เช่น การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กหรือ เอ็มอาร์ไอ ก็กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงประสิทธิภาพของการตรวจ สำหรับมะเร็งรังไข่ วิธีการสอดส่องดูแลได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านทางช่องคลอด การเจาะเลือดหาค่า CA-125 และการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ซึ่งในบางครั้งสามารถตรวจพบมะเร็งรังไข่ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าวิธีดังกล่าวจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งรังไข่ได้จริง
การผ่าตัดป้องกัน หมายถึงการผ่าตัดเอาอวัยวะที่มีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งออกไปให้มากที่สุดเพื่อลดโอกาสเกิดมะเร็ง ซึ่งได้แก่ การผ่าตัดเต้านมออกสองข้าง และการผ่าตัดปีกมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้าง แต่ทั้งสองวิธีดังกล่าวก็ไม่สามารถลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ทั้งหมด โดยทั่วไปการผ่าตัดปีกมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้างจะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ประมาณ 80-96% และช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม 64-72% และ 37-39% ในคนที่มีความผิดปกติของยีน BRCA2 และ BRCA1 ตามลำดับ ส่วนการผ่าตัดเต้านมออกสองข้างช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมประมาณ 90%
การใช้ยาป้องกัน หมายถึงการใช้ยาเพื่อลดโอกาสของการเกิดมะเร็งหรือเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง เช่นการใช้ยา tamoxifen ซึ่งมีการศึกษามากมายที่แสดงให้เห็นว่าสามารถลดโอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมลง 50% ในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูง และยังช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาแล้ว แต่การศึกษาของยา tamoxifen ในผู้หญิงที่มีความผิดปกติของยีน BRCA ยังมีน้อย ข้อมูลเท่าที่มีพบว่ายา tamoxifen ก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่มีความผิดปกติของยีน BRCA ได้ ยาอีกตัวชื่อ raloxifene ก็มีการศึกษาพบว่า ช่วยลดการเกิดมะเร็งระยะลุกลาม ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงสูง ในอัตราที่ใกล้เคียงกับ tamoxifen เมื่อพิจารณาว่ายาทั้งคู่มีการออกฤทธิ์ต่อเซลส์ของมะเร็งเต้านมในแบบเดียวกัน raloxifene ก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่มีความผิดปกติของยีน BRCA ได้เช่นเดียวกัน แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาโดยตรงของยา raloxifene |
![]() |
ความคิดเห็น